งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองเรื่องการพัฒนาความสามารถพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
การจัดการเรียนรู้ของทุกระดับในสถาบันการศึกษาได้รับการพัฒนาอย่างเร่งด่วนเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกในยุคเทคโนโลยีและนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและมีความหลากหลาย การศึกษานับว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพของประชากรภายในประเทศ ในปีพ.ศ.
2547 พบว่าเด็กไทยมีแนวโน้มในการพัฒนาการช้าและสติปัญญาต่ำลง
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.
2542 มาตรา22
กำหนดแนวทางในการจัดการศึกษาไว้ว่าการจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติมีหน้าที่ในการจัดการศึกษาสำหรับเด็ก3ถึง6ปี
ให้การศึกษาแก่เด็กทุกด้านคือด้านร่างกาย ด้านอารมณ์จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญาตามวัย โดยเฉพาะการศึกษาระดับปฐมวัยนับว่าเป็นการศึกษาระดับรากฐานของชีวิตการเตรียมเด็กให้พร้อมและสามารถพัฒนาการตามวัยและศักยภาพจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่ผู้เกี่ยวข้องจะต้องรับผิดชอบและดำเนินการเพื่อให้เด็กมีสภาพบุคคลแห่งการเรียนรู้และสามารถศึกษาในระดับที่สูงขึ้นอย่างมีความสุขตามความต้องการและความสนใจ
การพัฒนาเด็กให้เจริญเติบโตถึงขีดสุดศักยภาพโดยการพัฒนาเด็กและครอบครัวอย่างเป็นองค์รวมมีการปรับกระบวนการและทัศนคติในการพัฒนาเด็กได้ปฏิบัติงานจริงและมีสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
เด็กปฐมวัยสมองมิได้มีหน้าที่รู้คิดและเรียนรู้ได้สมบูรณ์มาพร้อมกำเนิด แต่ต้องได้รับการพัฒนาอย่างถูกต้องถูกวิธีอย่างเป็นระบบในช่วงปฐมวัยของชีวิตประสิทธิภาพสมองจึงขึ้นอยู่กับคุณภาพของการจัดกิจกรรม
การเรียน การสอน การกระตุ้นประสบการณ์การเรียนรู้
การสอนคณิตศาสตร์ให้แก่เด็กเล็กควรให้เด็กมีโอกาสได้ทำกิจกรรมด้วยตนเอง
ได้สัมผัส ได้จัดกระทำกับวัตถุจริงมีประสบการณ์กับสิ่งที่เป็นรูปธรรม เด็กจะเรียนรู้โดยการปฏิบัติต่อวัตถุเท่านั้นและการมีปฏิสัมพันธ์กับครูและเพื่อนในห้องเรียนส่งผลต่อการสร้างความรู้ทางด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสของเด็ก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำพูดที่กระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจใฝ่เรียนรู้ เช่นการซักถามด้วยความเอาใจใส่ของครู
ส่วนการสร้างความรู้และข้อมูลย้อนกลับไปนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายในตัวเด็กเองเด็กไม่ต้องการการสอนโดยตรง
แต่จากการที่ได้รับเผชิญปัญหาจะส่งผลให้เด็กได้พัฒนาความคิดในระดับที่สูงขึ้นคณิตศาสตร์เป็นศาสตร์แห่งการคิดและเป็นเครื่องมือสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพของสมอง
เน้นของการจัดประสบการณ์
การจัดกิจกรรมเป็นวิธีการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมเด็กประถมวัยโดยเปิด
โอกาสให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง learning by doing เป็นแนวคิดของJohn Dewe ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีของเพียเจ Piaget ที่เชื่อว่าการพัฒนาการทางสติปัญญาเป็นผลจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม โดยบุคคลปรับตัวให้อยู่ในสภาพสมดุลย์โดยการใช้กระบวนการดูดซับประสบการณ์และกระบวนการเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมกับสิ่งที่เรียนรู้ใหม่การเรียนรู้ โดยใช้ประสาทสัมผัสลงมือปฏิบัติจริงและพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามลำดับกิจกรรมที่เด็กได้เรียนรู้
ประสบการณ์ตรงซึ่งอาจจะเป็นพื้นฐานของการพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
- 1.เพื่อพัฒนาความสามารถการคิดวิเคราะห์พื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้ชุดกิจกรรม
- 2.เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยโดยใช้ชุดกิจกรรมการคิดวิเคราะห์พื้นฐานทางคณิตศาสตร์
- 3.เพื่อศึกษาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมพัฒนาความสามารถการคิดวิเคราะห์พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ขอบเขตการวิจัย
- กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยคือนักเรียนปฐมวัยอายุ 5-6 ปี จำนวน 15 คนซึ่งกำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่3 ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนเศรษฐวิทย์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
🔆 ผู้วิจัยได้สร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความสามารถคิดวิเคราะห์พื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยเน้นกิจกรรมที่สอดคล้องกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 5 ด้าน
1.ทักษะการรวบรวม
2.ทักษะการจัดหมวดหมู่
3.ทักษะการจำแนก
5.ทักษะการเปรียบเทียบ
4.ทักษะการเรียงลำดับ
ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับวัยผู้วิจัยจึงสร้างแบบฝึกกิจกรรมโดยเรียงลำดับจากเนื้อหาง่ายไปถึงยาก
สรุปผลการวิจัย
แบบฝึกเพื่อพัฒนาความสามารถทางด้านการคิดวิเคราะห์พื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัยสามารถพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนได้จริง เนื่องจากนักเรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้จากแบบชุดฝึกกิจกรรมมาสู่แบบทดสอบ จึงทำให้ผลการทำแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมีคะแนนเกินร้อยละ80ทุกคน อีกทั้งเมื่อหาประสิทธิภาพแบบฝึกกิจกรรมอยู่ในเกณฑ์ที่มีประสิทธิภาพ และนักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ที่สำคัญนักเรียนอาจนำความรู้จากการเรียนรู้ครั้งนี้ไปต่อยอดความคิดวิเคราะห์ในขั้นที่สูงขึ้นต่อไปได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น